จังหวัดสมุทรปราการหรือที่เรียกกันเป็นสามัญทั่วไป “เมืองปากน้ำ” เพราะตั้งอยู่ ปากน้ำเจ้าพระยา เป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ มาตั้งแต่สมัยโบราณเป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลที่มีความสำคัญ ตลอดมาทุกยุคทุกสมัย “สมุทร” แปลว่า“ทะเล” และ “ปราการ” แปลว่า “กำแพง” สมุทรปราการ แปลว่า กำแพงชายทะเล หรือกำแพงริมทะเล ซึ่งหมายถึง เมืองหน้าด่านชายทะเลหรือริมทะเลที่มีกำแพงมั่นคงแข็งแรงสำหรับป้องกันข้าศึกนั่นเอง นับว่าเป็นการให้ชื่อเมืองที่ถูกต้อง และเหมาะสมตามความมุ่งหมายในการตั้งเมืองเป็นอย่างยิ่ง ประวัติความเป็นมาของเมืองสมุทรปราการ สลับซับซ้อนสัมพันธ์กันเมืองพระประแดง (ปัจจุบันเป็นอำเภอพระประแดงในจังหวัดสมุทรปราการ) เพราะเมืองสมุทรปราการได้ตั้งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่เมืองพระประแดงเดิมนั้นขอมได้ตั้งขึ้นในสมัยขอมมีอำนาจ ครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งสมัยนั้นทะเลยังลึกเข้ามามากจนจดเขตทางใต้ของกรุงเทพมหานคร ขอมเรียกว่า “ปากน้ำพระประแดง” เมื่อตั้งเมืองที่ปากน้ำก็เรียกว่า “เมืองพระประแดง” (ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เชื่อว่าเมืองพระประแดงที่ขอมตั้งนี้อยู่ที่คลองเตย เขตพระโขนงกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเป็นที่ทำการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย) ครั้นนานมามีแผ่นดินงอกออกไปเมืองพระประแดงจึงห่างจากปากน้ำเข้าทุกที จึงมีการโยกย้ายมาตั้งเมืองปากน้ำขึ้นใหม่ เพื่อความเหมาะสม จึงมีทั้งเมืองสมุทรปราการ และเมืองพระประแดง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ความจำเป็นทางการเมือง และความปลอดภัยของประเทศชาติ มีมากขึ้นจึงได้ตั้งเมืองนครเขื่อนขันธ์ขึ้น (ปัจจุบันเป็นอำเภอพระประแดงจังหวัดสมุทรปราการ) จึงกล่าวได้ว่า จังหวัดสมุทรปราการ หรือเมืองปากน้ำ ในปัจจุบันนี้มีประวัติและอาณาเขต ของเมือง ๓ เมืองรวมกัน คือ เมืองพระประแดง เมืองนครเขื่อนขันธ์ และเมืองสมุทรปราการ สมุทรปราการในอดีต นับเป็นพันๆ ปีมาแล้วนั้นนักปราชญ์ ทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี สันนิษฐานว่าบริเวณพื้นที่ของจังหวัดนี้ทั้งหมด ตั้งแต่ปากอ่าวไทย จนจดพื้นที่ทางใต้ของ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นทะเลทั้งหมด มีเรือสำเภาจีน แล่นขึ้นไปถึงกรุงศรีอยุธยา ได้โดยสะดวก ต่อมานานๆ เข้าบริเวณแหล่งนี้ตื้นเขินกลายเป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ ทั้งมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านไปออกทะเล การคมนาคมสะดวก ผู้คนจึงอพยพเข้าไปตั้งหลักแหล่งทำมาหากินมากขึ้นโดยลำดับ บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาทั้งหมดมาจนจดปากอ่าวไทย เป็นเขตอาณาจักรทวาราวดี และชนชาวทวาราวดีในบริเวณนี้ ส่วนมากมีเชื้อชาติไทย จากหลักฐานการขุดค้นพบซากโบราณสถาน กับพบโบราณวัตถุ มีตะเกียงสัมฤทธิ์ของชาวโรมัน ที่ตำบลพงดึก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ทำให้สันนิษฐานได้ว่าบริเวณตำบลดังกล่าว และอาณาเขตใกล้เคียงคงจะเป็น เมืองท่า ริมทะเลที่สำคัญของอาณาจักรทวาราวดีคู่กับเมืองนครปฐมซึ่งเป็นเมืองสำคัญริมทะเลอีกเมืองหนึ่งของอาณาจักร ทวาราวดีเช่นกันจึงพอสรุปได้ว่า อาณาจักรทวาราวดีคงเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองและมีอาณาบริเวณอยู่ในที่ราบลุ่มในแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมด ตลอดจนมาจดอ่าวไทย ประชาชนพลเมืองคงมีเชื้อสายไทย มีความเจริญสูง ซึ่งอยู่ในราว พ.ศ. ๑๐๐๐ ถึง พ.ศ. ๑๓๐๐ ดังนั้นพื้นที่ของเมืองสมุทรปราการเดิม จึงอยู่ในอาณาจักรทวาราวดีมาแล้วตั้งแต่ในสมัยโบราณถ้าจะกล่าวย้อนหลังขึ้นไปในอดีตสมุทรปราการมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่นำมากล่าวได้ละเอียด รวม ๕ สมัยด้วยกัน คือ สมัยลพบุรี สมัยสุโขทัย สมัยศรีอยุธยา สมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์
สมัยลพบุรี
ในสมัยขอมเรืองอำนาจ ได้ครอบครองอาณาจักรทวาราวดี หลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่า เมืองสมุทรปราการ เคยเป็นเมืองหน้าด่านของขอม คือ ในราวพ.ศ. ๑๔๐๐ อาณาจักรทวาราวดีเสื่อมอำนาจลง ระยะนั้นขอมตั้งราชธานีีอยู่“นครธม”ปัจจุบันอยู่ในกัมพูชาได้ขยายอำนาจมาปกครองดินแดน แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาไว้ทั้งหมด แล้วตั้งเมือง “ละโว้” (จังหวัดลพบุรี ปัจจุบัน) เป็นราชธานีในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งได้ตั้งเมืองอโยธยา (จังหวัดพระนครศรีอยุธยาปัจจุบัน) และเมือง “พระประแดง”(เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร) เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเล ซึ่งในสมัยนั้น เรียกปากน้ำว่า “ปากน้ำพระประแดง” การที่ขอมขนานนามเมืองหน้าด่านว่า “พระประแดง” นั้นมีเหตุผลชัดเจนอยู่มาก เพราะคำว่า “ประแดง” หรือ “บาแดง” แปลว่า “คนเดิมหมายคนนำข่าวสาร” ซึ่งหมายถึงว่า เมืองพระประแดง เป็นเมืองหน้าด่าน ถ้ามีเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้นเป็นหน้าที่ของเมืองนี้ จะต้องรีบแจ้งข่าวสารไปให้เมืองหลวง (ละโว้) ทราบโดยเร็ว จึงทำให้เชื่อได้ว่า เมืองปากน้ำสมุทรปราการ ก็คงเป็นท้องทีส่วนหนึ่งของเมืองพระประแดงด้วย
สมัยสุโขทัย
ขอมครองอำนาจเหนืออาณาจักรทวาราวดีเหนือลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “สุวรรณภูมิ” อยู่ชั่วระยะหนึ่งก็เสื่อมอำนาจลง คือ ในราว พ.ศ. ๑๘๐๐ไทยน้อยซึ่งอพยพ ทยอยมาจากตอนใต้ของจีน ได้มาตั้งหลักแหล่งกระจัดกระจายอยู่ตรงแถบตอนเหนือของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และเคยอยู่ใต้อำนาจของขอมเรืองอำนาจนั้นมีความเข้มแข็ง สามารถรวบรวมกำลังขับไล่ขอมออกไปจากดินแดนบริเวณนั้นได้สำเร็จ แล้วประกาศตัวเป็นอิสระตั้ง “กรุงสุโขทัย” (จังหวัดสุโขทัยปัจจุบัน) เป็นราชธานีกษัตริย์พระองค์แรกที่ครองกรุงสุโขทัย คือ “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์” ทำให้ไทยเริ่มมีอำนาจในดินแดนแหลมทอง (สุวรรณภูมิ) และเจริญรุ่งเรือง ขึ้นเป็นอันดับ จนถึงรัชสมัย “พ่อขุนรามคำแหงมหาราช” กษัตริย์ผู้ทรงอานุภาพมาก สามารถต่ออาณาเขตสุโขทัยออไปได้กว้างขวางที่สุด คือ ทิศเหนือ จดแคว้นลานนาไทย ทิศตะวันออกจดเขมร (ซึ่งยังครองลุ่มแม่น้ำมูล) ทิศใต้ครอบครองตลอดแหลมมะลายู ทิศตะวันตกครอบครองเมือง หงสาวดีของพม่าไปจนอ่าวเบงคอลในสมัยสุโขทัยนี้เมืองพระประแดงก็ขึ้นอยู่กับกรุงสุโขทัยตลอดมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
สมัยอยุธยา
ต่อมาในต้น พ.ศ. ๑๘๙๓ พระเจ้าอู่ทอง ได้ทรงอพยพผู้คนจากสุพรรณบุรีมาสร้างพระนครขึ้นใหม่ที่ริมหนองโสน ขนานนามว่า “กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา” และทรงทำการราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า “สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑” ประกาศเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกรุงสุโขทัย ทั้งได้แสดงอานุภาพ ยกไปตีเขมรได้เมืองนครธมอันเป็นนครหลวงของเขมร และดินแดนทางตะวันตกของเขมรทั้งหมดส่วนหัวเมืองฝ่ายใต้อันเป็นอาณาเขตของกรุงสุโขทัยเดิมก็ได้ขึ้นมาอยู่กับกรุงศรีอยุธยาทั้งหมด ตั้งแต่เมืองราชบุรี เพชรบุรี ลงไปตลอดแหลมมะลายู (ประเทศมาเลเซียปัจจุบัน) ส่วนทางทิศเหนือ ได้เมืองลพบุรี ซึ่งติดต่อกับอาณาเขตสุโขทัย พระเจ้าอู่ทอง ได้โปรดเกล้าฯให้ตั้งเมืองหน้าด่านทั้ง ๔ ทิศ คือ ทิศเหนือ เมืองลพบุรี ทิศตะวันออก เมืองนครนายกทิศตะวันตก เมืองสุพรรณบุรี ทิศใต ้เมืองพระประแดง เมืองหน้าด่านเหล่านี้โปรดฯ ให้สร้างป้อมปราการที่มั่นคงแข็งแรงทุกเมืองแต่เมื่อถึงรัชสมัยของสมเด็จพระมหา จักรพรรดิ พ.ศ. ๒๐๙๑ เกิดสงครามช้างเผือกระหว่างไทยกับพม่า พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ยกทัพใหญ่มาตีกรุงศรีอยุธยาทางกรุงศรีอยุธยายกทัพไปตั้งรับข้าศึกที่เมืองสุพรรณบุรีแต่ทานกำลังไม่อยู่ ทัพพม่าสามารถยกเข้ามาถึงชานพระนครได้ หลังจากพม่ายกทัพกลับไปแล้ว สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ทรงเห็นว่าเมืองสุพรรณบุรีแม้จะมีค่ายคูประตูหอรบพร้อมก็ยังรับศึกใหญ่ไม่อยู่ ไม่มีประโยชน์ต่อการป้องกันศัตรูได้อีกแล้ว มิหนำซ้ำยังเป็นที่สำหรับข้าศึกพักอาศัย และรวบรวมไพร่พลเสบียงอาหารได้อีก จึงโปรดฯ ให้รื้อป้อมค่ายและกำแพงลงเสีย พร้อมทั้งป้อมกำแพงที่เมืองลพบุรี และเมืองนครนายกด้วยให้คงเหลือไว้แต่ที่เมืองพระประแดง สำหรับเป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลเพียงแห่งเดียวเมืองพระประแดง ตามที่ได้กล่าวมาแล้วแต่ต้น เป็นเมืองเก่าแก่นับพันๆ ปีตามหลักฐานไม่ทราบแน่ชัดว่าเริ่มสร้างในสมัยกษัตริย์ขอมองค์ใดพอจะมีหลักฐานแน่ชัดก็ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี่เอง ดังปรากฏในหนังสือพระราชพงสาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า “เมื่อปีมะเมีย จุลศักราช ๘๖๐ (พ.ศ. ๒๐๕๑) ขุดชำระคลองสำโรงได้เทวรูปทองสัมฤทธิ์ ๒ องค์ ตรงที่คลองสำโรงต่อคลองทับนาง และเทวรูปนั้นมีอักขระจารึกชื่อว่า “พระยาแสนตา” องค์หนึ่ง และ “บาทสังขกร” อีกองค์หนึ่งสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชโปรดฯ ให้สร้างศาลประดิษฐานไว้ที่เมืองพระประแดง (ยังเป็นเมืองอยู่ในสมัยนั้น)และต่อมา เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ครองราชสมบัติ พระยาละแวกเจ้าเมืองกัมพูชาได้ยกทัพเรือมาตีกรุงศรีอยุธยาในปีมะแม จุลศักราช ๙๒๑ (พ.ศ. ๒๑๒๐)แต่ตีไม่ได้ดังปรารถนา เมื่อล่าทัพกลับได้ให้เอาเทวรูป ๒ องค์ ที่เมืองพระประแดงไปเมืองเขมรด้วย จึงทำให้เชื่อมั่นได้ว่าเมืองพระประแดงเป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลที่สำคัญมาทุกยุคทุกสมัย เพราะเป็นเมืองที่อยู่ปากน้ำจดอ่าวไทย เมื่อกล่าวมาถึงตอนนี้จึงเห็นได้ว่า “เมืองปากน้ำ” ซึ่งเรียกกันเป็นสามัญติดปากคนทั่วไปนั้น เดิมมิได้ตั้งอยู่“ปากน้ำบางเจ้าพระยา” หรือตำบล “ปากน้ำ” ดังในปัจจุบันนี้ เพราะตามที่กล่าวมาแล้วว่าสมัยนั้น ปากน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาลึกเข้าไปถึงบริเวณ ตอนใต้ของกรุงเทพมหานครคือ เขตพระโขนงในปัจจุบันต่อมาเมื่อชายทะเลแปรสภาพเป็นพื้นแผ่นดินทับถม ตื้นเขินจนกลายเป็นที่ราบงอกออกมามากเข้า เมื่อพระประแดงเดิม ซึ่งเคยเป็นเมืองปากน้ำก็ห่างไกลจากเมืองปากน้ำไปทุกที เมืองพระประแดงจึงถูกโยกย้ายเปลี่ยนตำแหน่งที่ตั้ง เพื่อความเหมาะสมกับฐานะเมืองหน้าด่านทางทะเล ตอนหลังปรากฏว่าเมืองพระประแดงมาตั้งอยู่ที่ ตำบลราษฎร์บูรณะ (คนละที่กับเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร) ตอนที่เคยเป็นสถานที่ตั้งสถานีบางนางเกรงสถานีรถไฟสายปากน้ำ (ทางรถไฟสายปากน้ำถูกรื้อเสีย ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษฏ์ ธนะรัชต์) คือ บริเวณที่ตั้งโรงเรียนเกริกวิทยาลัยในปัจจุบันนี้ ดังในสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน กล่าวไว้ดังนี้ “ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๑๖๓จึงปรากฏว่า มีเมืองพระประแดงตั้งใหม่ที่ตำบลราษฎร์บูรณะ อยู่ฝั่งตะวันออกของลำน้ำเจ้าพระยา (ราวสถานีบางนาเกรง รถรางสายปากน้ำ) ต่อมาเมืองพระประแดงน่าจะย้ายมาอยู่ฝั่งตะวันตกของลำน้ำเจ้าพระยาตามเดิม”ครั้นถึงสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงให้รื้อกำแพงเมืองเก่าเพื่อเอาอิฐไปสร้างราชธานีที่กรุงธนบุรี เมืองพระประแดงที่ราษฏร์บูรณะจึงหาซากไม่พบจนทุกวันนี้ ส่วนที่ตั้งอำเภอพระประแดงในปัจจุบันนี้นั้นมิใช่เมืองพระประแดงเดิมหากเป็นเมือง “นครเขื่อนขันธ์” ซึ่งเริ่มสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ต่อมาสำเร็จเรียบร้อยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองพระประแดง หรือจังหวัดพระประแดงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ สำหรับเมืองสมุทรปราการที่มีขึ้นภายหลังนั้น นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๒๑๓๖ – ๒๑๗๑) เพราะหลักฐานจากหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า ก็ออกชื่อเมืองสมุทรปราการในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมแล้ว สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมได้โปรดฯ ให้สร้างเมืองสมุทรปราการขึ้นที่บริเวณใต้คลองบางปลากด ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกหรือฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะสมัยนั้นแถบบริเวณคลองบางปลากด ได้มีต่างชาติฮอลันดาซึ่งเข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ และได้รับพระราชทานที่ดินบริเวณเหนือคลองบางปลากดเนื่องจากชนชาตินี้เข้าทำการค้าด้วยวิธีอันดี ประพฤติ และวางตัวติดต่อกับคนไทยเป็นอย่างดี ทั้งทำความดีความชอบช่วยเหลือราชการแผ่นดินหลายอย่างฮอลันดา ใช้สถานที่นั้นตั้งคลังสินค้า เป็นสถานีการค้าที่มั่นคงใหญ่โต คือเป็นทั้งคลังสินค้าและที่อยู่ของเจ้าหน้าที่อย่างพร้อมเพรียง เป็นสถานที่งดงามบริบูรณ์ด้วยเครื่องใช้ประจำวันที่ทันสมัย จนถึงยกย่องกันในหมู่ชาวฮอลันดาว่า “นิว อัมสเตอร์ดัม”นับตั่งแต่นั้นมาบริเว บางปลากดก็เจริญขึ้นตามลำดับ ประชาชนได้มาค้าขายติดต่อกับคลังสินค้าแห่งนี้มากขึ้น และตั้งบ้านเรือนร้านค้าขยายตัวออกไปทุกที ดังนั้นสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จึงโปรดฯ ให้สร้างเมืองสมุทรปราการขึ้น ณ บริเวณดังกล่าว แล้วการที่ี่สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมได้โปรดฯ ให้สร้างเมืองสมุทรปราการขึ้นในที่บริเวณฝั่งใต้คลองบางปลากดนั้นนอกจากพระองค์จะทรงเห็นความสำคัญที่คนไทยจะทำการค้าขายกับฮอลันดาซึ่งเป็นฝรั่ง ที่ก้าวหน้าทางการค้ามากที่สุดในสมัยนั้นแล้ว ยังทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องสร้างเมืองหน้าด่านชายทะเลขึ้นใหม่แทนเมืองพระประแดง ซึ่งนับวันจะห่างไกลเมืองปากน้ำเข้าทุกที เนื่องจากชายฝั่งงอกออกไปเรื่อยๆ ทำให้พระประแดงลดความเหมาะสมที่จะเป็นเมืองหน้าด่านต่อไป และเมื่อเมืองสมุทรปราการที่สร้างใหม่อยู่ในทำเล และชัยภูมิที่เหมะสมกว่าและเจริญกว่า จึงเป็นธรรมดาอยู่เองที่เมืองพระประแดงจะลดความสำคัญลงไป ส่วนคลังสินค้า หรือ นิว อัมสเตอร์ดัม ของฮอลันดานั้น ปรากฏว่าในรัชกาลกษัตริย์องค์ต่อๆ มาฮอลันดาไม่ได้มาค้าขายติดต่อกับไทย เนื่องจากไม่พอใจที่ไทยดำเนินการค้าเสียเองเป็นส่วนใหญ่ และไทยได้สนิทสนมกับฝรั่งเศสมากขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนมีเรื่องพิพาทกับฮอลันดา ฮอลันดาจึงได้ทอดทิ้งสถานที่คลังสินค้านี้ไป เวลานานเข้ากระแสน้ำได้ไหลพัดเซาะตลิ่งเข้าไปทุกที สถานที่แห่งนี้จึงได้พังทลายไปสิ้น เมืองสมุทรปราการที่สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมนี้ เข้าใจว่าเป็นเมืองร้างในสมัยที่่ี่ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐และคงจะถูกพม่าทำลายยับเยินไปด้วยขณะนี้หาซากเมืองไม่พบ ลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ที่เกี่ยวกับเมืองสมุทรปราการ มีดังนี้
๑. พ.ศ. ๒๑๒๑ พระยาจีนจันตุ ขุนนางเขมร ไปตีเมืองเพชรบุรีไม่ได้ จึงหนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช แต่ต่อมาพระยาจีนจันตุได้ทราบว่าพระยาละแวกไม่เอาโทษ จึงลอบพาสมัครพรรคพวกหนีกลับ โดยลงเรือสำเภา สมเด็จ
พระนเรศวรมหาราช ขณะนั้นมีพระชนม์มายุเพียง ๑๗ พรรษา ได้เสด็จลงเรือพระที่นั่งไล่ตามเรือสำเภาพระยาจีนจันตุ ไปทันกันที่ปากน้ำเจ้าพระยา เกิดรบพุ่งกัน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพระแสงปืนต้นยิงถูกพวกพระยาจีนจันตุ ตาย ๓ ศพ ฝ่ายพระยาจีนจันตุก็ยิงถูกด้ามพระแสงปืนที่สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงอยู่แตก พอดีสำเภาได้ลมแล่นออกทะเลใหญ่หนีไปได้
๒. พ.ศ. ๒๑๖๓ ในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม พวกฮอลันดากำลังมีอิทธิพลทางการค้ากับไทย ถึงกับมีที่พักคลังสินค้าที่บริเวณปากน้ำ ตำบลบางปลากด ชื่อว่า“นิว อัมสเตอร์ดัม” (ปัจจุบันน้ำเซาะพังไปหมดแล้ว) เป็นเหตุให้ต่างชาติโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขายกับไทยเป็นชาติแรกไม่พึงพอใจจนเกิดเหตุขึ้น เรือกำปั่นโปรตุเกสเข้ามาค้าขายพบเรือฮอลันดา ที่ปากน้ำเจ้าพระยา ก็จับยึดเรือไว้ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงทราบก็ไม่พอพระทัยเพราะเป็นการหมิ่นพระบรมราชานุภาพ โปรดฯ ให้ทหารลงไปบังคับโปรตุเกสให้คืนเรือแก่ฮอลันดา โปรตุเกสจึงโกรธเคืองไทยทำให้สัมพันธภาพทางการค้าของไทยกับโปรตุเกสเสื่อมลง โปรตุเกสเลิกกิจการค้าขายในกรุงศรีอยุธยา แล้วให้กองทัพเรือมาปิดอ่าวที่เมืองมะริด (ซึ่งตอนนั้นเมืองมะริดเป็นของไทย) แต่สัมพันธภาพระหว่างไทยกับฮอลันดา มีมากยิ่งขึ้น
๓. พ.ศ. ๒๑๗๓ พวกญี่ปุ่นที่เข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เกิดขัดใจกับไทยถึงต่อสู้กันพวกญี่ปุ่นลงเรือสำเภาหนี กองเรือไทยตามไปทันที่ปากน้ำเจ้าพระยา ได้เกิดต่อสู้กันที่บริเวณปากน้ำอีก แต่ญี่ปุ่นพากันหนีรอดไปได้ และไปอาศัยอยู่ที่เมืองเขมร
๔. พ.ศ. ๒๒๐๗ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ทรงดำเนินกิจการค้าของประเทศไทยอย่างกว้างขวาง ให้คนจีนมาประจำหน้าที่ในเรือสินค้าหลวงและส่งเรือสินค้าหลวงออกไปค้าขายกับต่างประเทศหลายลำ ทำให้พวกฮอลันดาที่เข้ามาทำการค้าไม่พอใจ หาว่าไทยทำการค้าผูกขาดเสียแต่ผู้เดียว ทำให้เสียประโยชน์แก่พวกฮอลันดามาก มีการขัดแย้งจนถึงขัดใจกันเกิดขึ้นเป็นลำดับ ฮอลันดาจึงเลิกกิจการค้าจากกรุงศรีอยุธยาแล้วเอาเรือรบมาปิดปากอ่าวไทยคอยจับเรือสินค้าหลวงของไทย ริบบ้างและทำลายเสียบ้าง จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงดำเนินวิเทโศบายผูกมิตรกับฝรั่งเศสอย่างแน่นแฟ้นในเวลาต่อมา
๕. พ.ศ. ๒๒๓๑ ในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ไทยเกิดต่อสู้กับฝรั่งเศสที่เข้ามารักษาป้อมวิชัยประสิทธิ์ (อยู่ที่จังหวัด ธนบุรี ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช)ในการต่อสู้นี้ ไทยได้ตั้งค่ายรายปืนที่บริเวณปากน้ำเจ้าพระยา เมืองสมุทรปราการและจับเรือที่ฝรั่งเศสคุมมาได้ ๒ ลำ ครั้นเมื่อตกลงกันว่า ต่างจะปล่อยกลับบ้านเมืองแต่ให้มีตัวจำนำไปด้วยจนถึงปากน้ำจึงจะแลกเปลี่ยนตัวจำนำกัน แต่พอถึงปากน้ำพวกฝรั่งเศสไม่ยอมปล่อยตัวจำนำฝ่ายไทยกลับ ส่วนพวกตัวจำนำฝรั่งเศสที่ไทยยึดไว้ ก็หนีไปลงเรือฝรั่งเศส ไทยจึงต้องจับพวกบาทหลวงฝรั่งเศส ที่ยังคงเหลืออยู่ในกรุงศรีอยุธยาขังต่อไป
๖. ในระหว่าง พ.ศ. ๒๑๙๙ – ๒๒๓๑ ไทยได้ติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้น และส่วนมากเข้ามาติดต่อโดยทางทะเล เมืองสมุทรปราการ จึงเป็นเมืองหน้าด่านที่มีความสำคัญมาก ในช่วงระยะเวลาที่กล่าวถึงนี้ ได้มีการปรับปรุงป้อมค่ายให้มีความมั่นคง และแข็งแรงยิ่งขึ้น และที่ป้อมปากน้ำนี่เอง เป็นสาเหตุสำคัญยิ่งที่ทำให้ไทยมีธงชาตขึ้น เพราะครั้งนั้นมีเรือฝรั่งเศสเข้ามาทางปากน้ำ ไทยเรายังไม่มีธงชาติใช้ จึงเอาธงชาติ ฮอลันดาชักขึ้น ฝรั่งเศสไม่ยอมคำนับธงชาติฮอลันดา ไทยเราไม่รู้จะทำอย่างไร ในที่สุดจึงเอาธงชาติฮอลันดาลง แล้วเอาผ้าแดงชักขึ้นแทน ฝรั่งเศสจึงยอมคำนับ ธงแดง ธงแดงจึงเป็นธงชาติไทยเรื่อยมาจนกระทั่งมาเพิ่มเป็นธงช้าง มีรูปช้างเผือกในผืนผ้าแดง และเปลี่ยนต่อมาจนเป็นธงไตรรงค์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ จึงนับได้ว่าธงชาติไทยได้เกิดขึ้นครั้งแรกที่เมือสมุทรปราการนี้เอง
๗. พ.ศ. ๒๓๑๐ เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมืองสมุทรปราการก็ถูกพม่าโจมตีกวาดต้อนผู้คน ปล้นสะดมและทำลายยับเยิน
สมัยธนบุรี
เป็นระยะช่วงสั้นที่สุด เพราะเพียง ๑๕ ปีเท่านี้น จึงไม่มีเหตุการณ์อะไรมากนักเมืองไทยเสียกรุงแก่พม่าครั้งที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๓๑๐ แล้วในปีเดียวกันนั้นเอง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ได้ทรงกอบกู้เอกราชไทยกลับคืนมา และได้ย้ายราชธานี จากกรุงศรีอยุธยา มาตั้ง ณ กรุงธนบุรี ซึ่งเป็นเมืองเล็ก อยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาเนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ก่อร่างสร้างตัวใหม่ ๆ บ้านเมืองก็พินาศเสียหายมากมายทั่วไปทั้งเป็นการรีบด่วนในการก่อสร้าง สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงโปรดฯ ให้รื้อกำแพงเมืองพระประแดงเดิมที่ราษฎร์บูรณะ ไปสร้างกำแพงพระราชวัง และสิ่งอื่นๆ ที่กรุงธนบุรีเมืองพระประแดงจึงสิ้นซากตั้งแต่นั้นมา
สมัยรัตนโกสินทร์
ใน พ.ศ. ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์สมบัติ และโปรดฯ ให้ย้ายราชธานี จากกรุงธนบุรี มาตั้ง ณ ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ทรงขนานนามว่า“กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ฯ” ต่อมามีเหตุการณ์เกิดขึ้น คือ พ.ศ. ๒๓๒๙ “องเชียงสือ” ซึ่งเป็นหลานของกษัตริย์ญวนสมัยนั้นได้หนีภัยการเมืองเข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร อาศัยอยู่ในแผ่นดินไทยตั้งแต่พ.ศ. ๒๓๒๕ และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณารับไว้และต้อนรับให้การเลี้ยงดูเป็นอย่างดี ภายหลังองเชียงสือ เห็นว่าตนหมดภัยทางบ้านเกิดเมืองนอนแล้ว จะทูลเกล้ากลับก็เกรงพระทัย จึงลอบลงเรือหนีไปทางปากน้ำเจ้าพระยาความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และกรมพระราชวังบวรสุรสีหนาท กรมพระราชวังบวรฯ ทรงยกกองเรือตามไปแต่ไม่ทันกันทรงกริ้วมาก พอเสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ ก็ทรงกราบทูลแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกถึงการหนีกลับขององเชียงสือ ว่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ประเทศไทยภายหลัง เพราะองเชียงสือมาอยู่เมืองไทยหลายปี ย่อมรู้ความตื้นลึกหนาบางของเมืองไทยเป็น อย่างดี ถ้าองเชียงสือเป็นศัตรูกับไทยเมื่อใด จะทำความยุ่งยากแก่การที่จะป้องกันเมืองเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่มีหัวเมืองชายทะเลที่มั่นคงแข็งแรงไว้รับทัพข้าศึก ทรงปรึกษาเห็นพ้องกันแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ จึงโปรดฯ ให้กรมพระราชวังบวรฯลงไปสำรวจพื้นที่บริเวณปากน้ำเจ้าพระยา เพื่อสร้างเมืองใหม่อีกเมืองหนึ่งกรมพระราชวังบวรฯ รับสนองพระบรมราชโองการแล้ว ทรงเสด็จมาสำรวจพื้นที่บริเวณปากน้ำแม่เจ้าพระยา ทรงเห็นว่าบริเวณ “ลัดโพธิ์” (อยู่ระหว่างกรุงเทพฯ กับสมุทรปราการ) มีชัยภูมิเหมาะแก่การสร้างเมือง จึงทรงกราบทูลขอพระบรมราชานุญาตแล้วมีบัญชาให้สร้างป้อมค่ายขึ้นที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา (ตรงข้ามอำเภอพระประแดงปัจจุบัน) ๑ ป้อม ให้ชื่อว่า “ป้อมวิทยาคม” พอดีกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จสวรรคต แต่การสร้าเมืองยังค้างอยู่ ดังนั้น เมืองพระประแดงใหม่ หรือมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า “นครเขื่อนขันธ์” จึงเริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ นั่นเอง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ทรงพระราชดำริว่าที่บริเวณลัดโพธิ์นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชประสงค์ที่จะสร้างเมืองไว้ป้องกันข้าศึกทางทะเลอีกเมืองหนึ่งแต่ยัง ค้างอยู่เพียงได้ลงมือสร้างป้อมเท่านั้น การสงครามทางทะเลก็ไม่น่าไว้ใจควรต้องทำให้สำเร็จจึงโปรดฯ ให้สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นแม่กองไปทำเมืองต่อ โดยตัดเอาท้องที่แขวงกรุงเทพมหานครบ้าง แขวงเมืองสมุทรปราการบ้างรวมกันตั้งขึ้นเป็นเมืองใหม่ แล้วพระราชทานชื่อว่า “เมืองนครเขื่อนขันธ์” แล้วให้ย้ายครัวมอญจากเมืองปทุมธานี ซึ่งมีพวกพระยาเจ่งและชายฉกรรจ์ จำนวน ๓๐๐ คนลงไปอยู่ ณ เมืองนครเขื่อนขันธ์ การสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์นี้ ในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๒ พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ว่า “การสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์สำเร็จ ได้ตั้งพิธีฝังอาถรรพ์ปักหลักเมือง ณ วันศุกร์ เดือน ๗ แรม ๑๐ ปีกุล สัปตศก จุลศักราช ๑๑๗๗ พ.ศ. ๒๓๕๘ ครั้งนั้น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงสร้างพระอารามขึ้นไว้ในเมือง พระราชทานนามว่า “วัดทรงธรรม” พระอุโบสถเป็นแต่เครื่องไม้ฝากระดาน แล้วจึงโปรดฯ ให้ตั้งสมิงทอมาบุตรของพระยาเจ่ง ขึ้นเป็นพระยารามน้องเจ้าพระยามหาโยธาเป็นพระยานครเขื่อนขันธ์รามัญราชชาติเสนาบดีศรีสิทธิสงคราม เป็นผู้รักษาเมืองและได้ตั้งกรรมการพร้อมทุกตำแหน่ง และเพื่อให้เมืองนครเขื่อนขันธ์ มีความแข็งแรง มั่นคงเพื่อป้องกันข้าศึกทางทะเล จึงให้สร้างป้อมทางฝั่งตะวันออก ๓ ป้อม คือ ป้อมปู่เจ้าสมิงพราย ป้อมปีศาจสิง ป้อมราหูจร เมื่อรวมทั้งป้อมวิทยาคม ซึ่งสร้างในรัชกาลที่ ๑ ด้วย ก็เป็น ๔ ป้อม และให้สร้างทางฝั่งตะวันตกอีก ๕ ป้อม คือ ป้อมแผลงไฟฟ้า ป้อมมหาสังหาร ป้อมศัตรูพินาศ ป้อมจักรกรด และป้อมพระจันทร์ พระอาทิตย์ ป้อมทั้งหมดนี้ ชักปีกกาถึงกัน ข้างหลังก็ทำกำแพงล้อมรอบ ตั้งยุ้งฉางตึกดิน และศาลาไว้เครื่องศาสตราวุธ พร้อมทุกประการที่ริมแม่น้ำก็ทำ “ลูกทุ่นสายโซ่”สำหรับขึงกั้นแม่น้ำ เอาท่อนซุงมาทำเป็นดันโกลนร้อยเกี่ยวเข้ากระหนามเป็นตอนๆเข้าไปปักหลักระหว่างต้นโกลนทุกช่อง ร้อยโซ่ผูกทุ่นมั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดฯ ให้ขุดคลองลัดขึ้นใหม่ที่เหนือคลองลัดโพธิ์ (เป็นคลองที่ขุดในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระแห่งกรุงศรีอยุธยาแต่ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปรากฏว่าพอถึงฤดูน้ำกระแสน้ำทะเลไหลบ่าเข้ามาถึงกรุงเทพฯ ทำให้เรือกสวนไร่นาของราษฎรเสียหายมากจึงโปรดฯ ให้ปิดทำนบกั้นและถมคลองลัดโพธิ์ให้แคบลง) เรียกว่า “คลองลัดหลวง”โดยให้กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ เป็นแม่กองควบคุมงาน คลองลัดทั้งสองให้ประโยชน์ และย่นระยะทางระหว่างปากน้ำกับกรุงเทพฯ ได้มาก เมืองนครเขื่อนขันธ์ จึงตั้งอยู่ระหว่างปากคลองลัดโพธิ์ และคลองลัดหลวง สามัญชนนิยมเรียกชื่อเมืองนี้ว่า“ปากลัด” อีกชื่อหนึ่ง
ใน พ.ศ. ๒๓๖๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็ได้โปรดฯ ให้สร้างป้อมเพชรหึงขึ้นอีกป้อมหนึ่งในการเสริมสร้างกำลังเพื่อป้องกันราชศัตรูทางทะเล ทำให้มีการตั้งและบูรณะเมืองขึ้นใหม่ถึง ๒ เมือง คือ เมืองนครเขื่อนขันธ์ กับเมืองสมุทรปราการ สาเหตุที่ทำให้ต้องบูรณะเมืองสมุทรปราการใหม่นั้น เนื่องจากว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงไม่ไว้วางใจญวนนัก เพราะญวนกับไทยมีเรื่องขัดใจกันบ่อยๆ เนื่องจากไทยกับญวนต้องการเป็นใหญ่ในแผ่นดินเขมร เผอิญในเวลานั้น“องต๋ากุน” ได้เป็นกษัตริย์ญวน และได้เกณฑ์ไพร่พลลัดคลองลัด ตั้งต้นจากทะเลสาบเขมรออกทะเลที่เมือง “ไผทมาศ” หรือ “บันทายมาศ” ซึ่งปรากฏในตำนานการสร้างเมืองสมุทรปราการ พระราชพงศาวดารในรัชกาลที่ ๒ ว่า “ได้ข่าวมาถึงกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปีเถาะเอกศก จุลศักราช ๑๑๘๑ ว่า องต๋ากุน เจ้าเมืองเกณฑ์ไพร่พลญวนบ้าง เขมรบ้างผลัดละ ๑๐,๐๐๐ คน ให้มาขุดคลองแต่ทะเลสาบออกเมืองไปไผทมาศ เป็นคลองกว้าง ๑๒ วา ๗ ศอก ดังนั้น จึงทำให้ทางกรุงเทพฯ เห็นว่าถ้าญวนขุดคลองนี้เสร็จเมื่อใดก็จะ เป็นเหตุให้ญวนสามารถยกทัพเรือลัดคลองนี้เข้ามาตีหัวเมืองชายทะเลของไทยได้ง่ายกว่าแต่ก่อน เพราะเมืองไผทมาศ อยู่ใกล้กับหัวเมืองชายทะเล ตะวันออกของไทย จึงทรงพระราชดำริว่า เมืองสมุทรปราการเดิมเคยเป็นเมืองหน้าด่านปากน้ำเจ้าพระยามาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี บัดนี้ชำรุดทรุดโทรมมาก ประกอบกับแม่น้ำเจ้าพระยาตอนหน้าเมืองสมุทรปราการเดิม ก็กว้างขวางมาก (ประมาณ ๒ เท่าที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน) ถ้าข้าศึกยกทัพเรือมาก็อาจเล็ดรอดหรือตีหัวเมืองนี้เข้ามาถึงกรุงเทพฯ ได้ง่าย จำเป็นที่จะต้องสถาปนาเมืองสมุทรปราการเสียใหม่ ให้มีป้อมปราการชายทะเลที่เข้มแข็งมั่นคงไว้ป้องกันให้เพียงพอ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)กับเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ)เป็นแม่กองลงไปเป็นควบคุมการก่อสร้างเมืองสมุทรปราการการสร้างดำเนินอยู่ประมาณ ๓ ปี จึงแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๕ มีป้อมปราการที่สร้างขึ้นทั้ง ๒ ฝั่งแม่น้ำ จำนวน ๖ ป้อมด้วยกัน ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยามี ๒ ป้อม คือ ป้อมนาคราช อันเป็นป้อมปืนใหญ่ และป้อมผีเสื้อสมุทร ซึ่งสร้างขึ้นที่เกาะกลางน้ำ ตรงข้ามกับป้อมนาคราช (ใกล้กับที่ประดิษฐานองค์พระสมุทรเจดีย์เดี๋ยวนี้) ส่วนทางตะวันออกอันเป็นที่ตั้งที่ทำการของเมืองมี ๔ ป้อมด้วยกัน คือป้อมประโคนชัย ป้อมนารายณ์ ปราบศึก ป้อมปราการ และป้อมกายสิทธิ์ ทุกป้อมชักปีกกาถึงกัน ในการสร้างเมืองสมุทรปราการครั้งนั้น สร้างตรงที่ “บางเจ้าพระยา” คือตำบลปากน้ำในปัจจุบัน อยู่ระหว่างคลองปากน้ำกับคลองมหาวงษ์ได้เริ่มทำพิธีฝังหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๔ ขึ้น ๗ ค่ำ ตรงกับพุทธศักราช ๒๓๖๕ครั้นถึงวันพุธ เวลาย่ำรุ่ง ๔ นาฬิกา ๒๔ นาที ได้ฤกษ์เอาแผ่นยันต์ทอง เงิน ทองแดงดีบุก และศิลา ลงสู่ภูมิบาท แล้วยกเสาหลักเมือง พอถึงวันเสาร์เวลา ๕ นาฬิกา ๒๔ นาทีฝังอาถรรพ์หลักเมือง และหลักเมืองนี้ปัจจุบันอยู่ที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง (ใกล้ตลาดโต้รุ่ง)อันเป็นสถานที่สำคัญที่ชาวเมืองสมุทรปราการให้ความเคารพนับถือ เพราะถือว่าเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของสมุทรปราการ สำหรับสถานที่สำคัญที่เป็นสัญญลักษณ์ของจังหวัดสมุทรปราการก็คือ “พระสมุทรเจดีย์” หรือที่เรียกกันเป็นสามัญทั่วไปว่า พระเจดีย์กลางน้ำในระหว่างที่สร้างเมืองสมุทรปราการยังไม่แล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการสร้างเมืองอยู่เสมอในโอกาสนั้นพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นหาดทรายที่เกิดขึ้นที่ท้ายป้อมผีเสื้อสมุทรทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างพระมหาเจดีย์ไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ โดยที่ทรงเห็นว่าการสร้างป้อมปราการนั้นก็เพื่อที่จะป้องกันข้าศึกศัตรูที่จะมาย่ำยีบีทาชาติบ้านเมืองแล้ว จึงเป็นการป้องกันบวรพุทธศาสนา สมณชีพราหมณ์ อาณาประชาราษฎร์ ให้พ้นจากอริราชไพรีทั้งหลาย แต่โดยเหตุที่ในขณะนั้น เกาะหาดทรายแห่งนี้ยังมีพื้นที่ไม่แน่นพอที่จะก่อสร้างสิ่งใดลงไปได้ ต่อเมื่อได้รอจนสร้างเมืองสมุทรปราการเสร็จแล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รีบดำเนินการถมพื้นที่เกาะทันที และให้พระราชทานนามพระมหาเจดีย์ที่สร้างนั้นว่า “พระสมุทรเจดีย์” เป็นการล่วงหน้าไว้ แต่การสร้างยังไม่ทันเรียบร้อยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อนในปีพุทธศักราช ๒๓๖๗ อนึ่ง ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยให้มีอุปฮาดเมืองนครพนม พาสมัครพรรคพวกประมาณ ๒,๐๐๐ เศษ เข้ามาพึ่ง
พระบรมโพธิสมภาร
ในปี พ.ศ. ๒๓๕๒ ได้โปรดฯ ให้ทำบัญชีสำรวจ ชายฉกรรจ์จำนวน ๘๖๐ คน แล้วทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้ “ท้าวอินทสาร” (ท้าวอินทพิศาล) บุตรพระยาอุปฮาดเป็นพระยาปลัดเมืองสมุทรปราการดูแลพลพวกนั้นอยู่ที่สมุทรปราการ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ แห่งรัตนโกสินทร์มีเหตุการณ์ที่ทำให้ ไทยไม่ไว้ใจญวนมากยิ่งขึ้น ทั้งเกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ยกทัพมากวาดต้อน ครอบครัวไทยที่นครราชสีมา ซึ่งปรากฏว่ามีวีรสตรีไทย คือ คุณหญิงโม ภริยาปลัดเมือง ได้หาอุบายต่อต้านเป็นสามารถ จนเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายไป เมื่อสถานการณ์ไม่เป็นที่น่าไว้ใจเกิดขึ้นเช่นนี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างเมืองสมุทรปราการ ให้มั่นคงเข้มแข็งยิ่งขึ้น ใน พ.ศ. ๒๓๗๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) เป็นแม่กองลงไปอำนวยการสร้างป้อมที่เมืองสมุทรปราการ อีก ๒ ป้อม คือ ป้อมปีกกา ต่อกับป้อมประโคนชัย (สร้างในรัชกาลที่ ๒) และป้อมตรีเพชร ที่ตำบลนางเกรง อยู่ทางทิศเหนือของเมืองสมุทรปราการ ส่วนป้อมปีกกาอยู่ทางทิศใต้ ใน พ.ศ. ๒๓๗๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมพระยาเดชาดิศร เมื่อครั้งดำรงพระยศ เป็น กรมขุนเดชาดิศร กับพระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหมื่นเสพสุนทร และพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นณรงคหริรักษ์(ในรัชกาลที่ ๑)เป็นแม่กองไปควบคุมการก่อสร้างป้อมที่สมุทรปราการ อีก ๒ ป้อม คือ ป้อมนารายณ์กางกร และป้อมคงกระพัน ที่ตำบลบางปลากด
ใน พ.ศ. ๒๓๘๘ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) เป็นแม่กองลงไปคุมการสร้างป้อมนาคราช ต่อเติมจากที่สร้างในรัชกาลที่ ๒ และสร้างป้อมปีกกาพับสมุทร ซึ่งเป็นป้อมที่อยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา และโปรดฯ ให้ปรับปรุงขยายป้อมผีเสื้อสมุทรที่สร้างไว้ที่เกาะกลางน้ำ โดยให้ขยายปีกกาต่อป้อมออกไปอีกทั้งสองข้าง นอกจากนี้ยังให้นำศิลาก้อนใหญ่ ๆ มาถมปิดปากอ่าวที่ตำบลแหลมฟ้าผ่า๕ กอง เพราะแม่น้ำตอนนั้น กว้างขวางมาก เรือสามารถ แล่นเข้ามาได้ง่าย เมื่อถมแล้วก็จะเป็นร่องน้ำเดินเรือโดยเฉพาะ เพื่อเป็นการบังคับให้เรือขนาดใหญ่กินน้ำลึก ต้องเดินตามร่องน้ำนั้น ร่องน้ำที่เกิดจากถมหินนั้น เรียกว่า “ร่องน้ำโขลน ทวาร”
ในปี พ.ศ. ๒๓๙๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จมื่นไวยวรนาถ (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์) เป็นแม่กองไปก่อสร้างป้อมที่ฝั่งซ้ายแม่น้ำเจ้าพระยาอีก ๑ ป้อม เป็นป้อม ขนาดใหญ่ กว่าทุก ๆ ป้อมที่สร้างมาแล้ว คือ ป้อมเสือซ่อนเล็บ สำหรับผู้บัญชาการกองทัพให้มาประจำอยู่ป้อมนี้ ป้อมเสือซ่อนเล็บอยู่ทางตอนเหนือของ เมืองสมุทรปราการที่ตำบล มหาวงษ์ (บริเวณโรงเรียนนายเรือปัจจุบัน)นอกจากทรงโปรดฯให้สร้างและต่อเติม ป้อมปราการ ต่าง ๆ แล้วพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่า พระสมุทรเจดีย์ ซึ่งเริ่มจะดำเนินการ สร้างในสมัยรัชกาบที่ ๒ นั้นเป็นปูชนียสถานที่สำคัญและเพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ ของพระบรมชนกนาถที่ทรงพระราชดำริิ ิไว้ว่าจะสร้างขึ้นที่เกาะกลางน้ำหน้าเมืองสมุทรปราการพระองค์จึงโปรดให้สร้างขึ้น เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๓๗๐ โดยโปรดเกล้าฯให้พระยาศรีธรรมโศกราช (น้อย ณ นคร) กับเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) เป็นแม่กองควบคุม ก่อสร้างสำเร็จเมื่อ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๓๗๑สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงษ์เธอกรมหมื่นราชสีหวิกรม (พระองค์เจ้า ชุมสาย ในรัชกาลที่ ๓ ต้นตระกูล ชุมสาย) เป็นายช่างเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ขำ บุญนาค) หรือเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี(บรรดาศักดิ์ ในรัชกาบที่ ๕) เป็นแม่กองควบคุม งาน พระยาอรรคนิกรและพระอมรมหาเดชควบคุม เลขทหาร ปืนใหญ่ และทหารปืนใหญ่เมืองสมุทรปราการเป็นผู้ช่วยแม่กอง ทำำการบูรณะ ดัดแปลงแก้ไขแบบและก่อสร้าง เพิ่มเติมองค์พระสมุทรเจดีย์เป็นการใหญ่อีกครั้งหนึ่งการสร้างเมืองสมุทรปราการและ การสร้าง ป้อมปราการ นับตั้งแต่แผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ มาจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ นับเป็นเวลานานถึง ๗๐ ปีเศษทำให้บรรดาป้อมปราการต่าง ๆ ที่สร้างไว้แต่เดิมชำรุดทรุดโทรมมากไม่มั่นคงแข็งแรงพอที่จะป้องกันข้าศึกศัตรูที่จะมารุกรานได้ ประกอบกับขณะนั้นไทยมีเหตุการณ์วิวาทกับ ฝรั่งเศส ซึ่งเกี่ยวกับดินแดนทาง ลุ่มแม่น้ำโขงฝรั่งเศสพยายามที่จะแผ่อิทธิพล และล่าเมืองขึ้นทางแอฟริกา และเอเซีย นอกจากนี้พระองค์ยังเห็นว่าได้มีแผ่นดินยื่นงอกออกไป ในทะเล ที่ตำบลแหลมฟ้าผ่าจึงทรงมีพระราชดำร ิที่จะสร้างป้อมขี้นอีกป้อมหนึ่ง ทางปากน้ำเจ้าพระยา เพื่อเป็นป้อม ชายทะเลที่มั่นคงแข็งแรง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทำการ สร้างป้อมพระจุลจอมเกล้าขึ้น ในบริเวณ ดังกล่าวซึ่งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา และ ได้เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๗ แล้วเสร็จเมื่อกลางปีพ.ศ. ๒๔๓๖ เป็นป้อมที่ทันสมัย ผู้ที่เป็นหัวแรงสำคัญในการสร้างป้อมพระจุลจอมเกล้าครั้งนี้เป็นหน้าที่ ของกรทหารเรือ โดยตรง ซึ่งมีรายพระนามและรายนามดังต่อไปนี้
๑. พลเรือโท กรมหมื่นปราบปรปักษ์ เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นพระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ผู้บัญชาการ ทหารเรือ
๒. พลเรือโท พระยาชลยุทธโยธิน เมื่อครั้งมียศเป็นพลเรือจัตวารองผู้บัญชาการทหารเรือ
๓. นาวาเอก พระชำนิกลการ เมื่อครั้งมียศเป็นนายพันตรี นายสมบุญ (บุณยกะลิน)เจ้ากรมโรงเครื่องจักร
๔. พลเรือน พระยาวิจิตรนารี เมื่อครั้งเป็นนายวิลเลี่ยม(บุณยกะลิน) ผู้ซึ่งสำเร็จวิชาช่างกลจากประเทศอังกฤษ เป็นผู้ควบคุมติดตั้งปืนใหญ่ประจำป้อม
๕. ร้อยเอก พอนโฮลด์ เป็นครูสอนวิชาการปืนใหญ่ และเป็นผู้บังคับบัญชาการป้อมพระจุลฯเป็นคนแรก อาวุธของป้อมเป็นปืนอย่างทันสมัยในเวลานั้น ขนาด ๖ นิ้ว จำนวน ๗ กระบอกสั่งซื้อจากประเทศอังกฤษ โดยบริษัทวิคเกอร์อาร์มสตรอง เป็นปืนหลุมยกขึ้นลงได้ด้วยแรงน้ำมัน การสร้างป้อมพระจุลจอมเกล้านี้ ได้เร่งสร้างในระยะคับขันของบ้านเมืองจนแล้วเสร็จทันต่อเหตุการณ์กล่าวคือ ดินแดนลาวทางฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำโขงตกเป็นเมืองขึ้นของไทยมาตั้งแต่รัชกาลพระจ้ากรุงธนบุรี ครั้นถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อฝรั่งเศสได้ญวน และเขมร ส่วนนอกเป็นเมืองขึ้นแล้ว ฝรั่งเศสอ้างกับไทยว่า ดินแดนลาวดังกล่าวเป็นเมืองขึ้น ของเขมรและญวน ฉะนั้นดินแดนลาวควรจะเป็น เมืองขึ้นของฝรั่งเศสด้วย การเจราจาโต้แย้งกันเรื่อง พรมแดนนี้เองเป็นกรณีพิพาทระหว่างไทย และฝรั่งเศส ใน ร.ศ.๑๑๒ ผรั่งเศสได้ส่งเรือ “ลูแตง” เข้ามาตรึงกำลังอยู่ในลำน้ำเจ้าพระยา โดยจอดอยู่หน้าสถานฑูตฝรั่งเศสเพื่อให้รัฐบาลไทยยอมรับว่าดินแดน ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ไทยคัดค้าอย่างเต็มที่ ดังนั้น ในตอนเย็นของวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖(ร.ศ. ๑๑๒) เวลา ๑๘.๐๕ น. กองเรือรบฝรั่งเศส ๒ ลำ ประกอบด้วยเรือเอกกองสตังค์ (Ineonstant) และเรือโคแมค (Comite) โดยการบังคับบัญชาของนาวโทโบวี(Bory) มีเรือ สินค้าฝรั่งเศสชื่อ เย.เบ.เชย์ (J.B.say) เป็นเรือนำร่อง ได้แล่นกระบวนเรียงตามกันระยะต่อระหว่างลำ ๔๐๐ เมตรผ่านสันดอนปากน้ำเจ้าพระยาเข้ามาด้วยความเร็ว ๑๐ น๊อต โดยมิได้รับอนุญาตจากรัฐบาลไทย ป้อมพระจุลจอมเกล้าจึงทำการยิงด้วยนัดดินเปล่า ๒ นัด เพื่อเป็นการเตือนให้เรือรบฝรั่งเศสแล่น กลับออกไปแต่เรือรบฝรั่งเศสคงแล่นเข้ามาเป็นเหตุให้ป้อมพระจุลจอมเกล้าต้องยิงด้วยกระสุนจริง ข้ามหัวเรือไป ๒ นัด เรือแองกองสตังค์ ได้ลดความเร็วลง ทำทีเหมือนจะหยุด พอเรือโคแมต ตามขึ้นมาทัน ประมาณเวลา ๑๘.๓๕ น. เรือรบฝรั่งเศสทั้ง ๒ ลำ ได้ชักธงรบและระดมยิงมายังป้อมพระจุลจอมเกล้า ทัน การต่อสู้จึงเริ่มขึ้น ป้อมพระจุลจอมเกล้าได้ยิงตอบโต้ด้วยปืนใหญ่ทุกกระบอกที่มีอยู่ ระหว่างการยิงต่อสู้ของป้อมพระจุลจอมเกล้ากับเรือรบฝรั่งเศสนั้น หมู่เรือรบไทย ได้แก่ เรือทูลกระหม่อมซึ่งจอดทอดสมออยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาก็ได้ร่วมในการยิงต่อสู้ครั้งนี้ด้วย ผลการรบปรากฏว่า เรือ เย.เยงเซย์ซึ่งเป็นเรือนำร่องของเรือรบฝรั่งเศส ถูกยิงทะลุ ต้องแล่นไป เกยตื้นอยู่ณ บริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้านั่นเอง ส่วนเรือแองกองสตังค์ และเรือโคแมต คงแล่นต่อเข้ามา จนถึงกรุงเทพฯ และจอดทอดสมอที่หน้าสถานฑูตฝรั่งเศส การรบครั้งนี้ พลเรือจัตวา พระยาชลยุทธโยธิน รองผู้บัญชาการทหารเรือในสมัยนั้นได้ไปบัญชาการรบด้วยตนเอง จากกรณีพิพาทในครั้งนี้ ไทยต้องเสียดินแดนที่มีอยู่เหนือดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงตลอดจน เกาะทั้งหลาย ในแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส และสิทธิอื่น ๆ อีกหลายประการจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ์ประเทศไทยเป็นประเทศที่สองที่ได้ทำการรบกับ ฝรั่งเศส ประเทศแรกที่ทำการรบกับฝรั่ง คือ ประเทศญี่ปุ่นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกา เลื่อนเมืองสมุทรปราการ ขึ้น มีฐานะเป็นจังหวัดสมุทรปราการ เปลี่ยนชื่อเมืองนครเขื่อนขันธ์ เป็นจังหวัด พระประแดง ตามความหมายที่มีมาแต่ดั้งเดิม พอถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๗ อันเป็นสมัยของพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั่วโลกเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลต้องการประหยัดการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน จึงโปรดฯ ให้ยุบจังหวัดพระประแดงลงเป็นอำเภอ ไปขึ้นกับจังหวัดสมุทรปราการ ต่อมาในระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๘๔ – ๒๔๘๗) ประเทศต้องเข้าสู่สงครามด้วยความจำเป็นและเป็นระยะที่เกิดภาวะทางเศรษฐกิจและความผันผวน ทางการเมือง รัฐบาลจำเป็นต้องปรับปรุงระเบียบการปกครองเสียใหม่ จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกายุบการปกครองของจังหวัดสมุทรปราการขึ้นกับจังหวัดพระนคร ในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ ครั้นพอสงครามโลกสงบลง รัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกา ประกาศตั้งจังหวัด สมุทรปราการขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ โดยแยกการปกครอง ออกจากจังหวัดพระนครและตั้งเป็นจังหวัดสมุทรปราการจนกระทั่งทุกวันนี้
ที่มา : ประวัติชุมชน
ภาพประกอบ : http://klang.cgd.go.th/smp/tour/samutjadee.html