ป้อมพระจุลจอมเกล้า
ประวัติป้อมพระจุลจอมเกล้า
สืบเนื่องจากการเข้ามาของอิทธิพลชาติตะวันตกที่มาล่าอาณานิคมแถบเอเซีย อินโดจีน และการเปิดประเทศญี่ปุ่น ในสมัยรัชกาลที่ 4 นำโดยสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดความเชื่อที่ว่า “คนเอเซีย สู้ฝรั่งไม่ได้” แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า สยามจะไม่มีการป้องกันเกิดขึ้น แม้ว่าป้อมบนสองฟากแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 – รัชกาลที่ 4 จะรวมกันแล้วกว่า 20 ป้อม แต่ก็ยังเป็นป้อมโบราณที่ติดตั้งปืนใหญ่แบบเก่า รวมถึงยุทธวิธีที่แต่เดิมใช้รบทางน้ำมาเป็นระยะเวลายาวนานของสยาม นั่นคือการใช้โซ่ขึงปิดทางน้ำทำให้เรือไม่สามารถเคลื่อนไปได้ แต่กลวิธีไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป เมื่อ เรือกำปั่นของฝรั่ง หรือ เรือกลไฟ ซึ่งสามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยถ่านหิน ที่ไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานลมเหมือนแต่ก่อน นอกจากนี้กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินของพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้กล่าวไว้ว่า “ทางเรือ ไทยยังจะสู้รบฝรั่งเศสไม่ได้” จึงเป็นเหตุผลโดยรวมที่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็น ความสำคัญ รับสั่งให้เตรียมการป้องกันกำลังทางเรือให้ดียิ่งขึ้น โดยพระองค์พระทานเงินส่วนพระองค์เป็นจำนวน 10,000 ชั่ง (800,000 บาท) เพื่อให้เร่งการสร้างป้อม และซื้ออาวุธเพื่อป้องกันพระนคร ด้วยความมุ่งมั่นของพระองค์ที่จะดำรงไว้ซึ่งเอกราชของชาติ ให้หลุดพ้นจากการเข้าแทรกแทรงของชาติตะวันตก ตามที่ทรงพระราชหัตถาเลขาถึงเสนาบดีสภาในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2436
ฉันรู้ตัวชัดอยู่ว่า ถ้าความเป็นเอกราชของกรุงสยามได้สุดสิ้นไปเมื่อใด ชีวิตฉันก็คงจะสุดสิ้นไปเมื่อนั้น… |
ป้อมพระจุลจอมเกล้า หรือเรียกสั้นๆว่า “ป้อมพระจุล” เป็นป้อมปราการทางน้ำ ตั้งอยู่ที่ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ สร้างขึ้นเมื่อใด ไม่พบหลักฐานแน่ชัด แต่คาดว่าสร้างขึ้นในราวเดือน มีนาคม พ.ศ. 2426 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อป้องกันการรุกรานจากอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเป็นชัยภูมิเหมาะสม หากมีเรือรบของข้าศึกบุกเข้ามาทางปากน้ำ ป้อมแห่งนี้สร้างเป็นป้อมปืนใหญ่แบบตะวันตก และได้ติดตั้งปืนใหญ่อาร์มสตรอง 155 มม. จำนวน 7 กระบอกเป็นอาวุธหลักของป้อม ทำให้ป้อมนี้เป็นป้อมปราการของสยามที่ทันสมัยมากที่สุดในเวลานั้น
ป้อมพระจุลจอมเกล้า นอกจากจะเป็นป้อมที่พระองค์ทรงดำริให้สร้างขึ้นแล้ว พระองค์ยังได้ทรงมาทดลองยิงปืนเสือหมอบด้วยพระองค์เอง ในเช้าวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 ป้อมพระจุลยังได้ใช้เป็นที่ยิงต่อสู้กับเรือรบฝรั่งเศสในวิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 โดยมีพลเรือตรี พระยาชลยุทธโยธินทร์ เป็นผู้บัญชาการรบ
ปัจจุบัน ป้อมพระจุลจอมเกล้าขึ้นตรงกับฐานทัพเรือกรุงเทพ และได้ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2536 เพื่อเป็นราชานุสรณ์และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ และกองทัพเรือได้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์เปิดให้ประชาชนเข้าชมด้วย ป้อมพระจุลจอมเกล้าจึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัด สมุทรปราการ
ข้อมูลการเดินทาง :: ป้อมพระจุลจอมเกล้า
รถยนต์ส่วนตัว : |
เส้นทางที่ 1 : …จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนสุขุมวิท มุ่งหน้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ ก่อนถึงจังหวัดสมุทรปราการ ประมาณ 5 กิโลเมตร ให้ท่านเลี้ยวขวาที่แยกไฟแดง ไปทาง อำเภอพระประแดง …เมื่อเลี้ยวขวาแล้ว ให้ท่านขับตรงไป ประมาณ 5.9 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายตามป้ายบอกทาง ที่เขียนว่า ถนนสุขสวัสดิ์ จากนั้นขับตามป้ายบอกทาง ขึ้น สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม ประมาณ 4.8 กิโลเมตร หลังจากนั้นท่านก็จะลงจากสะพาน …เมื่อท่านลงจากสะพานแล้ว ท่านจะเห็นป้ายบอกทาง พระประแดง กับ ดาวคะนอง ให้ท่านขับตรงไปประมาณ 1.2 กิโลเมตร ท่านจะพบ แยกไฟแดง ( ถ้าเลี้ยวซ้ายจะเป็นเส้นทางไปตลาดน้ำวัดบางน้ำผึ้ง ถนนหมายเลข 3104 ) ( ถ้าตรงไป จะเป็นเส้นทางไปพระสมุทรเจดีย์ และป้อมพระจุลจอมเกล้า ) ให้ท่านขับตรงไป ประมาณ 10.2 กิโลเมตร ท่านจะพบ สามแยก ( ถ้าเลี้ยวขวาจะเป็นเส้นทางไปป้อมพระจุลจอมเกล้า ถนนหมายเลข 303 ) ( ถ้าตรงไป จะเป็นเส้นทางไปพระสมุทรเจดีย์ ) ให้ท่าน เลี้ยวขวา แล้วขับตรงไป ประมาณ 6.2 กิโลเมตร ก็จะถึง ป้อมพระจุลจอมเกล้า จากนั้นแลกบัตร กับ ทหาร แล้วขับตรงไป ประมาณ 1 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวขวามือ แล้วขับตรงไป ประมาณ 500 เมตร ก็จะถึง “เรือหลวงแม่กลอง” เส้นทางที่ 2 : …จากกรุงเทพฯ ( ห้างเดอะมอลล์บางแค ) ขับตรงไปมุ่งหน้าสู่ถนนพระราม 2 ประมาณ 7.5 กิโลเมตร จะมีแยกซ้ายเข้าสู่ถนนพระราม 2 ไม่ต้องเลี้ยวซ้ายนะครับ ให้ท่านขับตรงไป ตามป้ายบอกทางที่เขียนว่า พระประแดง ขับตรงไปประมาณ 14.5 กิโลเมตร จากนั้นให้ท่านเลี้ยวขวามือ ไปทาง พระสมุทรเจดีย์ และ ป้อมพระจุลจอมเกล้า ( ถ้าเลี้ยวซ้ายจะเป็นเส้นทางไปสามแยกพระประแดง และเส้นทางไปตลาดน้ำวัดบางน้ำผึ้ง ) เส้นทางที่ 3 : |
รถโดยสารสาธารณะ : |
– |